ประเภทการแยกสิ่งเจือปนในก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติที่นำขึ้นมาจะมีก๊าซบางชนิดเช่น คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดร เจนซัลไฟด์จะมีผลต่อการสึกกร่อนของระบบท่อและเครื่องมือต่างๆ ดังนั้นก่อ...

ก๊าซธรรมชาติที่นำขึ้นมาจะมีก๊าซบางชนิดเช่น คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดร เจนซัลไฟด์จะมีผลต่อการสึกกร่อนของระบบท่อและเครื่องมือต่างๆ ดังนั้นก่อนที่จะมีการนำก๊าซธรรมชาติไปแยกเพื่อใช้ประโยชน์ จะต้องมีการแยกหรือกำจัดก๊าซเหล่านี้เสียก่อน กรรมวีธีในการแยกก๊าซเหล่านี้มีหลายวิธีซึ่งแล้วแต่องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาตินั้นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีกระบวนการหลักๆ ดังต่อไปนี้ 
3.5.1.1 กระบวนการแยกก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นกรด โดยเทคนิคการทำให้ก๊าซกรดบริสุทธิ์     (acid gas purification techniques) ในกระบวนการนี้จะเป็นการแยกก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ (CO2) และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ออก  เนื่องจากก๊าซเหล่านี้มีส่วนประกอบที่มีผลต่อการสึกกร่อนของอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ    หรือเมื่อมีการเผาไหม้จะก่อให้เกิดก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ นอกจากนี้โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นตัวทำให้ค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติลดลงด้วย 
ในกระบวนการแยกก๊าซเหล่านี้จะใช้สารละลายที่มีคุณสมบัติเป็นเบส เข้าไปดูดซับเอาก๊าซเหล่านั้นออก ซึ่งสารละลายที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ โพแทสเซียมคาร์บอเนต (K2CO3) และเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการเบนฟิลด์ (benfield process) สามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีได้ดังนี้

K2CO3 + CO2 + H2O                 2KHCO3                     (3.1)
K2CO3 + H2S                  KHS + KHCO3                     (3.2)

นอกจากนี้การแยกสิ่งเจือปน ในบางแหล่งอาจใช้สารละลายที่แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้สารละลายมอโนเอทาโนลามิน (mono ethanolamine) กระบวนการนี้เรียกว่า  กระบวนการเบนฟิลด์ไฮเพียว (benfield hipure process)  สามารถเขียนสมการทางเคมีได้ดังนี้

2R2NH + CO2 + H2O              (R2NH2)2CO3                   (3.3)
(R2NH2)2CO3 + CO2 + H2O                2R2NH2HCO3         (3.4)
2R2NH + H2S                  (R2NH2)2S                                     (3.5)
(R2NH2)2S + H2S                   2R2NH2HS                               (3.6)

You Might Also Like

0 comments