การแยกสาร ไฮโดรคาร์บอน ก๊าซธรรมชาติ

เมื่อก๊าซธรรมชาติผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกไปแล้ว จะถูกส่ง  เข้าไปในส่วนของการแยกประเภทของสารไฮโดรคาร์บอนของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเร...

เมื่อก๊าซธรรมชาติผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกไปแล้ว จะถูกส่ง  เข้าไปในส่วนของการแยกประเภทของสารไฮโดรคาร์บอนของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่าเทอร์โบเอกซ์เพนเดอร์ (turbo expander) โดยอาศัยหลักการเดียวกับการกลั่นลำดับส่วนคือทำการลดอุณหภูมิของก๊าซจนกระทั่งก๊าซกลายเป็นของเหลว      และอาศัยหลักการที่ว่าสารไฮโดรคาร์บอนแต่ละชนิดมีจุดเดือดที่แตกต่างกัน เช่น สารไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลน้อย จะมีจุดเดือดต่ำกว่าสารไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลมากกว่า ดังนั้นหลังจากที่ทำให้ก๊าซเป็นของเหลวแล้วจะมีการให้ความร้อนแก่ก๊าซเหลวเพื่อทำให้ก๊าซเหลวนั้นระเหยกลายเป็นก๊าซอีกครั้งหนึ่ง    โดยเมื่อให้ความร้อนเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆ    สารไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลน้อยจะถึงจุดเดือดก่อนและจะกลายเป็นก๊าซแยกตัวออกจากก๊าซเหลวนั้นได้ ซึ่งการแยกตัวจะเกิดขึ้นตามลำดับของจุดเดือดของสารไฮโดรคาร์บอนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
กระบวนการแยกตัวของสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นในส่วนของเทอร์โบเอกซ์เพนเดอร์นี้ ก๊าซธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งเจือปนแล้ว เมื่อเข้ามาจะถูกทำให้ความดันลดลงจาก 42 บาร์ เหลือเพียง 16 บาร์ และอุณหภูมิลดลงจาก 250 องศาเคลวิน เหลือเพียง 170 องศาเคลวิน (บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย.  2546. ออน-ไลน์) ซึ่งที่ความดันและอุณหภูมินี้     ก๊าซที่เป็นสารไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่อีเทนขึ้นไปจะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว  ส่วนมีเทนยังคงอยู่ในสภาพเป็นก๊าซอยู่และถูกส่งไปยังหอกลั่นมีเทน (de-methanizer) ซึ่งก๊าซมีเทนจะมีการแยกตัวออกไปทางด้านบนของหอกลั่น  ส่วนก๊าซเหลวจะถูกดึงออกทางด้านล่างของหอกลั่น ดังแสดงในภาพที่ 3.1  ก๊าซเหลวนี้จะถูกนำไปเข้าสู่ส่วนที่เรียกว่าอีเทนรีคอเวอร์รี (ethane recovery)      ซึ่งในส่วนนี้จะมีหอกลั่นอีเทน (de-ethanizer) และหอกลั่นโพรเพน (de-propanizer) เพื่อทำการแยกอีเทนและโพรเพนออกตามลำดับต่อไป
ที่หอกลั่นอีเทนจะมีการควบคุมความดันที่ 28 บาร์และอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสซึ่งก๊าซอีเทนจะอยู่ในสภาพก๊าซและแยกตัวออกทางด้านบนของหอกลั่น ในขณะที่ก๊าซเหลวที่เหลือคือตั้งแต่โพรเพนขึ้นไปจะถูกดึงลงมาส่วนล่างของหอกลั่น เพื่อเข้าสู่หอกลั่นโพรเพนต่อไป ในหอกลั่นโพรเพนจะมีสภาวะที่ควบคุมหอกลั่นนี้ที่ความดัน 16 บาร์และอุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส   ก๊าซโพรเพนจะอยู่ในสภาวะเป็นก๊าซและถูกแยกออกทางด้านบนของหอกลั่น ส่วนก๊าซซึ่งเป็นส่วนผสมของโพรเพนกับบิวเทน จะถูกแยกออกมาจากส่วนกลางของหอ และจะมีผลิตภัณฑ์ที่ออกจากหอทางด้านล่างของหอกลั่นนี้คือ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (natural gasoline, NGL)

You Might Also Like

0 comments